Daily Archives: กันยายน 4, 2012

แบบทดสอบค้นหาตัวเอง

ขอให้นักเรียนทุกค้นเข้ามาค้นหาอาชีพในฝันนะคะ   คลิ๊กเลย

ใบงานคำนาม

แบบทดสอบเรื่องคำนาม

ตอนที่ ๑

คำชี้แจง จงเลือกคำนามที่ปรากฏในบทประพันธ์ที่กำหนดให้นี้ แล้วนำมาเขียนในช่องว่างด้านหลังของคำประพันธ์แต่ละบรรทัด

 

ขอเชิญเด็กไทย คำนามคือ………………

นึกถึงต้นไม้ ในด้านคุณค่า คำนามคือ………………..

ปลูกเพื่อประดับ ตกแต่งเคหา คำนามคือ…………………

กันแสงสุริยา ด้วยเงาร่มเย็น คำนามคือ………

 

อันความคิดวิทยาเหมือนอาวุธ คำนามคือ………………..

ประเสริฐสุดซ่อนใส่เสียในฝัก คำนามคือ…………………..

สงวนคมสมนึกใครฮึกฮัก คำนามคือ………………………

จึงค่อยชักเชือดฟันให้บรรลัย คำนามคือ………………………..

 

ตอนที่ ๒

คำชี้แจง จงเติมคำนามลงในช่องว่างของสำนวนไทยต่อไปนี้

๑. วัวพัน………………ฟักพันร้าน

๒. ฝนสั่งฟ้า …………… สั่งน้ำ

๓. เอาหูไป ……. เอา ………..ไปไร่

๔. เรือล่มใน………….. ทองจะไปไหน

๕. น้ำพึ่งเรือ …………… พึ่งป่า

๖. ถี่ลอดตา …………. ห่างลอดตาเล็น

๗. มือไม่พาย เอา…………ราน้ำ

๘. แกว่งเท้าหา ……………..

๙. รู้ไว้ใช่ว่า ใส่…………..แบกหาม

๑๐. ขี่ ……….. จับ …………….

 

 

 

 

ตอนที่ ๓ จงเลือกข้อที่ถูกที่สุดเพียงข้อเดียว แล้วทำเครื่องหมาย  ลงในกระดาษคำตอบ

 

๑. คำ “ขัน” ในข้อใดเป็นคำนาม

ก. ไก่ขันตอนเช้า ข. ขันเชือกให้แน่น

ค. เขาทำงานอย่างแข็งขัน ง. หยิบขันตักน้ำมาล้างหน้า

 

๒. “เสื่อม้วนนี้มีหลายผืน” ข้อความนี้มีคำนามกี่ชนิด

ก. ๒ ชนิด ข. ๓ ชนิด

ค. ๓ ชนิด ง. ๔ ชนิด

 

๓. “กล้วยเป็นเด็กที่สมองดีจึงเรียนหนังสือเก่งกว่าเพื่อนรุ่นราวคราวเดียวกัน”

ข้อความนี้มีคำสามายนามกี่คำ

ก. ๒ คำ ข. ๓ คำ

ค. ๔ คำ ง. ๕ คำ

 

๔. “รัฐบาลส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างกว้างขวาง” มีคำนามกี่คำ

ก. ๒ คำ ข. ๓ คำ

ค. ๓ คำ ง. ๔ คำ

 

๕. ข้อใดมีสมุหนาม

ก. ดอกไม้ช่อนี้สวยเหลือเกิน ข. เขามอบดอกไม้ให้เธอหนึ่งช่อ

ค. ช่อดอกไม้นี้เป็นของเธอ ง. เขาสั่งดอกไม้ ๑ ช่อ

 

๖. “ครูคือแม่พิมพ์ของชาติ” แม่พิมพ์ เป็นคำนามชนิดใด

ก. สามานยนาม ข. วิสามานยนาม

ค. ลักษณนาม ง. อาการนาม

 

๗. ข้อใดไม่มีอาการนาม

ก. ความคิดของคนเรามีหลายลักษณะ

ข. ความตายเป็นเรื่องธรรมดาของชีวิต

ค. ความใดที่ไม่ดีไม่งามก็ไม่ต้องเจรจา

ง. ในยามเย็น คนไกลบ้านมักเกิดความอ้างว้าง

 

๘. “ขัน” ในข้อใด ที่ทำหน้าที่เป็นกรรมของประโยค

ก. ปุ้ย ชอบดูเจ้าหญิงขันทอง ข. เป้ง ขัดขันช่วยคุณแม่

ค. ปา ขันชะเนาะอย่างชำนาญ ง. ปุ๋ยมักคุยเรื่องชวนขันอยู่เสมอ

 

๙. คำนามในข้อใดใช้ลักษณะนามซ้ำชื่อ

ก. ขลุ่ย ข. ตู้เย็น

ค. รถยนต์ ง. คะแนน

 

๑๐. ข้อใดไม่มีคำนามที่ทำหน้าที่เป็นส่วนเติมเต็ม

ก. คุณพ่อเป็นตำรวจ ข. เขาเหมือนพี่ชายมาก

ค. คะแนนของเราเท่ากัน ง. เสื้อตัวนี้คล้ายเสื้อของฉัน

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ห้องแนะแนว

การพัฒนางานแนะแนวในสถานศึกษา

แนวคิดเหล็กในการแนะแนว

การแนะแนวช่วยให้บุคคลรู้จักตัวเอง รู้จักโลกรอบตัว ด้วยกลวิธีและเครื่องมือต่าง ๆ เพื่อให้สามารถตัดสินใจด้วยตนเองอย่างเหมาะสมและอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข

ความหมายของกิจกรรมแนะแนว

การแนะแนวหมายถึง กระบวนการหนึ่งซึ่งจะช่วยให้นักเรียนรู้จักและเข้าใจตนเอง รู้จักสภาพแวดล้อม สามารถเลือกตัดสินใจได้อย่างถูกต้องเหมาะสม และสามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมและสถานการณ์ต่าง ๆได้

ปรัชญาของการแนะแนว การแนะแนวยึดหลักปรัชญาต่อไปนี้

1. บุคคลแต่ละคนย่อมมีความแตกต่างกันทั้งทางร่างกาย สังคม อารมณ์ สติปัญญา ความสนใจ ความสามารถ ความ ถนัดและเจตคติ

2. บุคคลเป็นทรัพยากรที่มีค่าและมีศักยภาพแฝงอยู่ในตน ควรพัฒนาให้เจริญขึ้นทุกด้าน

3. บุคคลมีการเปลี่ยนแปลงในทุกด้าน การเปลี่ยนแปลงจะเป็นไปด้วยดีหรือไม่ขึ้นอยู่กับปัจจัย

และสาเหตุการเปลี่ยนแปลงนั้นๆ

4. พฤติกรรมทุกอย่างของบุคคลย่อมมีสาเหตุ การที่บุคคลแสดงออกอย่างใดหรือเป็นเช่นไร

ย่อมเกิดจากตนเองและสิ่งแวดล้อมเป็นเหตุ

5. บุคคลย่อมมีศักดิ์ศรีและต้องการการยอมรับซึ่งกันและกัน

6. ธรรมชาติของคนอยู่รวมกันเป็นสังคม จำเป็นต้องมีความสัมพันธ์และพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน

โดยสรุปการแนะแนวหมายถึงการแนะแนวเป็นกระบวนการส่งเสริมและช่วยเหลือให้นักเรียนได้รู้จักตนเองเข้าใจสิ่งแวดล้อมสามารถเลือกตัดสินใจแก้ปัญหาและ ปรับตัวได้อย่างเหมาะสม ทั้งนี้เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตให้เป็นคนได้โดยสมบูรณ์และอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข

หลักการของการแนะแนว

1. การแนะแนวควรจัดขึ้นเพื่อนักเรียนทุกคน

2. การแนะแนวควรจะเป็นการช่วยให้นักเรียนสามรถนำตนเองได้

3. การแนะแนวจะต้องมีข้อมูลของนักเรียนในด้านต่างๆตรงตามข้อเท็จจริงและเป็นปัจจุบัน

4. การแนะแนวจะต้องจัดอย่างต่อเนื่อง

5. การจัดการแนะแนวจะต้องมีการประสานงาน และร่วมมือในระหว่างบุคลากรทุกคนที่เกี่ยวข้องทั้งในและนอกโรงเรียน

6. การแนะแนวจะต้องทำควบคู่กันไปกับการจัดการเรียนการสอน

7. การแนะแนวควรจัดบริการต่างๆให้ครอบคลุมทั้งด้านการศึกษา ด้านอาชีพ ด้านส่วนตัวและสังคม

เป้าหมายของการแนะนว

การแนะแนวมีเป้าหมายสำคัญอยู่ที่ตัวเด็ก โดยเน้นที่

1. การป้องกันปัญหา

2. การแก้ปัญหา

3. การส่งเสริมพัฒนาการทุกด้าน

เหตุผลและความจำเป็นในการพัฒนากิจกรรมแนะแนว

1. เด็กต้องเผชิญสิ่งแวดล้อมใหม่ในโรงเรียน ก่อให้เกิดปัญหาต่างๆ

2. เด็กกำลังพัฒนาในทุกด้าน ควรได้รับการส่งเสริมและสนับสนุน

3. สภาพสังคมและเศรษฐกิจทำให้นักเรียนและผู้ปกครองห่างเหินกัน

4. สภาพแวดล้อมทางสังคมทำให้นักเรียนเกิดความสับสน

5. นักเรียนต้องดิ้นรนเพื่อการเรียนและการเตรียมตัวในอาชีพมากขึ้น

การพัฒนากิจกรรมแนะแนวตามแนวพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542

การพัฒนากิจกรรมแนะแนวตามแนวพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 กำหนดไว้ ดังนี้

มาตรา 22 ระบุว่าการจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่าผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด กระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ

มาตรา 24 ระบุว่าการจัดกระบวนการเรียนรู้ ให้สถานศึกษาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการ

ดังต่อไปนี้

1. จัดเนื้อหาสาระและกิจกรรมให้สอดคล้องกับความสนใจและความถนัดของผู้เรียน

โดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล

2. ฝึกทักษะ กระบวนการคิด การจัดการ การเผชิญสถานการณ์ และการประยุกต์ความรู้มาใช้เพื่อป้องกัน และแก้ไขปัญหา

3. จัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง ฝึกการปฏิบัติให้ทำได้ คิดเป็นทำเป็น

รักการอ่านและเกิดการใฝ่รู้อย่างต่อเนื่อง

4. จัดการเรียนการสอนโดยผสมผสานสาระความรู้ด้านต่าง ๆ อย่างได้สัดส่วนสมดุลกัน รวมทั้งปลูกฝังคุณธรรม ค่านิยมที่ดีงามและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ไว้ในทุกวิชา

5. ส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้สอนสามารถจัดบรรยากาศ สภาพแวดล้อม สื่อการเรียน และอำนวยความสะดวกเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และมีความรอบรู้ รวมทั้งสามารถใช้การวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้ ทั้งนี้ผู้สอนและผู้เรียนอาจเรียนรู้ไปพร้อมกันจากสื่อการเรียนการสอนและแหล่งวิทยาการประเภทต่าง ๆ

6. จัดการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นได้ทุกเวลาทุกสถานที่ มีการประสานความร่วมมือกับบิดามารดา ผู้ปกครอง และบุคคลในชุมชนทุกฝ่าย เพื่อร่วมกันพัฒนาผู้เรียนตามศักยภาพ

จุดมุ่งหมายของการแนะแนว

การแนะแนวมีความสำคัญมากจึงมีขอบข่ายที่กว้างขวางโดยเฉพาะในสถาบันการศึกษาทุกระดับดังนั้นความมุ่งหมายในการจัดบริการแนะแนวจึงควรเน้นทั้งด้านการป้องกันปัญหาการแก้ปัญหา และการส่งเสริมพัฒนาการแก่บุคคล ดังที่ ทองเรียน อมรัชกุล และคนอื่น ๆ (2528 : 54-55), พรหมธิดา แสนคําเครือ (2528 : 10)และ พนม ลิ้มอารีย์(2533 : 6) ได้กล่าวถึงจุดมุ่งหมายของการแนะแนว มีใจความสรุปได้ดังนี้

• เพื่อช่วยให้นักเรียนได้รู้จักและเข้าใจตนเองในทุกด้านรู้จักพัฒนาตนเองนำความรู้ความสามารถหรือศักยภาพมาใช้ให้เป็นประโยชน์ เพื่อการป้องกันและแก้ไขปัญหา อันจะทำให้เกิดความเจริญงอกงามในทุกด้าน ได้แก่ ด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา

• เพื่อช่วยให้นักเรียนได้รู้จักปัญหาและวิธีการแก้ปัญหาเพื่อจะได้รู้จักวิธีการปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมในสังคมได้อย่างมีความสุข

• เพื่อช่วยให้ครูได้เข้าใจนักเรียนแต่ละคนซึ่งเป็นแนวทางในการป้องกันและแก้ไขปัญหาเพื่อส่งเสริมให้นักเรียนได้มีพัฒนาการเต็มตามศักยภาพ

• เพื่อช่วยให้ พ่อ แม่ ผู้ปกครอง ได้เข้าใจในตัวเด็กทั้งทางด้านร่างกายอารมณ์ สังคม สติปัญญา ความสามารถและปัญหาต่าง ๆ เพื่อหาทางส่งเสริมช่วยเหลือเด็กให้พ้นภัยจากปัญหาต่าง ๆ

กล่าวโดยสรุป จุดมุ่งหมายสูงสุด คือ การทําให้บุคคลพัฒนาตัวเองอย่างดีที่สุดทั้งทางด้านร่างกายสติ ปัญญา อารมณ์ สังคมและจิตใจ และช่วยให้บุคคลช่วยเหลือตนเองได้ในทุกเรื่อง เรียนรู้ที่จะดํารงชีวิตอยู่อย่างมีความสุข

ประโยชน์ที่จะได้รับจากบริการแนะแนว

ประโยชน์แก่ผู้ปกครองหรือบิดามารดา

– ได้รับรู้และเข้าใจสถานภาพทางการเรียนของบุตรหลานของท่าน เมื่อท่านได้มีโอกาสปรึกษาหารือกับครูแนะแนว

– ได้รับข้อมูลเกี่ยวกับโอกาสที่บุตรหลานของท่านจะได้เรียนต่อหรือออกไปประกอบอาชีพ

– รับรู้และเข้าใจสภาพปัญหาของเด็กวัยรุ่นเพื่อจะได้ให้ความร่วมมือกับโรงเรียนในการปรับปรุงพฤติกรรมของบุตรหลานของท่านต่อไป

ประโยชน์ต่อนักเรียน

– ช่วยให้นักเรียนรู้จักตนเองดีขึ้นและสามารถปรับปรุงตนเองในด้านการเรียน สังคมอารมณ์และสติปัญญา

– ช่วยให้นักเรียนตัดสินใจได้ด้วยตนเองอย่างฉลาดและมีเหตุผล

– ช่วยให้นักเรียนเข้าใจสาเหตุของปัญหาและวิธีแก้ปัญหาเพื่อสามารถดำเนินชีวิตอย่างมีจุดมุ่งหมายและอยู่ใสังคมอย่างมีความสุข

ประโยชน์แก่ครู

– ช่วยครูให้เข้าใจถึงปัญหาและสาเหตุของปัญหารวมทั้งหาวิธีแก้ปัญหานั้น

– ช่วยครูในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับความต้องการและความสนใจของนักเรียน

– ช่วยครูในการศึกษานักเรียนทำให้รู้จักนักเรียนดีขึ้น

ประโยชน์แก่โรงเรียน

– ช่วยโรงเรียนในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับความต้องการและความสนใจของนักเรียน

– ช่วยลดปัญหาต่าง ๆ เช่นปัญหานักเรียนเรียนไม่จบหลักสูตร หรือปัญหานักเรียนเรียนอ่อน หรือหนีเรียน เป็นต้น

บริการหลักที่งานแนะแนวจัดให้นักเรียน

กระทรวงศึกษาธิการ ได้กำหนดขอบข่ายการบริหารงานแนะแนวในโรงเรียนประถมศึกษา มี 5 บริการ คือ 1. บริการศึกษาและรวบรวมข้อมูล 2. บริการให้คำปรึกษา 3. บริการสนเทศ 4. บริการจัดวางตัวบุคคล 5. บริการติดตามผลและประเมินผล (พรหมธิดา แสนคําเครือ,2528 : 12-15; กรมวิชาการ,2532 : 4-5และพนม ลิ้มอารีย์ ,2533 : 235-237) โดยมีรายละเอียดพอสังเขป คือ

1. บริการรวบรวมข้อมูลและศึกษานักเรียนเป็นรายบุคคล หมายถึง การศึกษา สำรวจ รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับตัวนักเรียนด้านการศึกษา อาชีพ บุคลิกภาพ และสิ่งแวดล้อม ซึ่งเมื่อนำข้อมูลมาวิเคราะห์ และจัดระบบแล้ว จะทำให้ครูรู้จักนักเรียน และสามารถให้ความช่วยเหลือ ส่งเสริมและพัฒนาได้อย่างถูกต้อง ทั้งสามารถช่วยให้นักเรียนได้เข้าใจตนเองและยอมรับตนเองอีกด้วย เป็นบริการที่จำเป็นพื้นฐานในการที่จะให้ความช่วยเหลือนักเรียนได้ถูกต้อง เพราะจะทำให้ได้ทราบปัญหา หรือ ข้อบกพร่องในตัวนักเรียน เพื่อดำเนินการแก้ไขได้ถูกต้องและนำข้อมูลที่ได้ศึกษามาเป็นองค์ประกอบในการจัดบริการอื่น ๆ ต่อไป งานบริการด้านนี้ได้แก่

– บันทึกประวัตินักเรียนทุกคนไว้ในระเบียนสะสมบริการข้อมูลแก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง

– ทดสอบความถนัด ความสนใจของนักเรียน

– สำรวจพฤติกรรมที่มีปัญหาของนักเรียน

2. บริการให้คำปรึกษา หมายถึง การให้ความช่วยเหลือ ความใกล้ชิด ความอบอุ่น ความมั่นใจ อันจะช่วยให้นักเรียนสามารถตัดสินใจและเลือกได้อย่างฉลาด ถูกต้อง เหมาะสมกับสภาพปัญหาความต้องการ เป็นบริการที่นับว่าเป็นหัวใจสำคัญของงานแนะแนว โดยเฉพาะการเรียนการสอนตามหลักสูตรใหม่ และในสภาวะเศรษฐกิจและสังคมยุคปัจจุบัน งานบริการในด้านนี้ คือ

– ให้คำปรึกษานักเรียนที่มีปัญหาด้านส่วนตัว การเรียน และอาชีพ

– ศึกษาและหาทางช่วยให้นักเรียนแก้ปัญหาของตนเองได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม

– เสนอแนะแนวทางปฏิบัติตน เพื่อเสริมสร้างบุคลิกภาพ

บริการให้คำปรึกษาจะช่วยผ่อนคลายความเครียดในจิตใจของนักเรียนและ ผู้ปกครองโดย อาจารย์แนะแนวมีจรรยาบรรณที่จะ “รักษาความลับของนักเรียน” ฉะนั้นการเข้าไปคุยกับครูแนะแนวจึงเป็นเรื่องที่เด็กฉลาดควรทำ ไม่ควรคิดผิด ๆ ว่า”เฉพาะเด็กที่มีปัญหาเท่านั้นที่จะเข้าห้องแนะแนว” อาจารย์แนะแนวพร้อมที่จะเป็นคู่คิด เป็นที่ปรึกษาทั้งการเลือกวิชาเรียนการศึกษาต่อ การหางานทำ หรือปัญหาส่วนตัว งานแนะแนวยินดีช่วยนักเรียนเสมอ

3. บริการสนเทศ หมายถึง การให้ข้อมูล ข่าวสาร ความรู้ เพื่อให้นักเรียนเกิดการพัฒนา เป็นกิจกรรมหนึ่งที่ต่อเนื่องจากบริการศึกษาและรวบรวมข้อมูล อันจะช่วยให้นักเรียนได้รับข้อมูล ข่าวสาร ความรู้ที่ตรงกับความต้องการในการส่งเสริม พัฒนา ตลอดจนแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม เป็นบริการให้ความรู้แก่นักเรียนในหลายรูปแบบ เพื่อช่วยให้นักเรียนสามารถปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ต่าง ๆ ได้ รู้จักตัดสินใจ และวางแผนอนาคตอย่างฉลาด ได้แก่

– การจัดสอนให้ความรู้ต่าง ๆ ในคาบกิจกรรมแนะแนว

– การจัดป้ายนิเทศ

– การจัดทำเอกสารที่เป็นประโยชน์แก่นักเรียน

– การจัดอภิปราย บรรยาย ให้ความรู้ในด้านการศึกษาอาชีพ และการปรับตัวในสังคม

– การจัดวันอาชีพ

– การจัดสัปดาห์แนะแนวทางศึกษาต่อ

– การจัดฉายภาพยนต์ วีดีโอ สไลด์ที่เป็นประโยชน์ต่อนักเรียน

– จัดปฐมนิเทศ และปัจฉิมนิเทศ

4. บริการจัดวางตัวบุคคล หมายถึง การให้นักเรียนได้รับประสบการณ์ตรง หรือฝึกฝนทักษะในเรื่องที่ตนสนใจ การจัดบรรยากาศ สิ่งแวดล้อม ตลอดจนกิจกรรมให้ นักเรียนได้รับประสบการณ์ดังกล่าวนั้น โดยจัดให้สอดคล้อง ต่อเนื่องกับกระบวนการเรียนการสอน ทั้งสอดคล้องกับผลจากการวิเคราะห์ข้อมูล ความสนใจ ความต้องการ

5. บริการติดตามประเมินผล หมายถึง การปฏิบัติการอย่างต่อเนื่องจากบริการต่าง ๆ ที่กำหนด เพื่อติดตาม ดูแลว่านักเรียนมีสิ่งใดที่ต้องปรับปรุง แก้ไข พัฒนา ตลอดจนติดตามการจัดกิจการต่าง ๆ ว่าสัมฤทธิ์ผลเพียงใด มีสิ่งใดต้องปรับปรุงให้มีคุณภาพยิ่งขึ้น (http://www.skn.ac.th/skl/skl701.htm)

ในการจัดบริการแนะแนวจะประกอบด้วยการบริการหลักทั้ง 5 บริการ ซึ่งเป็นกระบวนการที่มีขั้นตอนต่อเนื่อง นักแนะแนวได้กำหนดโครงสร้างและความสัมพันธ์ของงานบริการแนะแนวสอดคล้องกัน ดังนี้

(พรหมธิดา แสนคําเครือ,2528 : 12-15; กรมวิชาการ,2532 : 4-5และพนม ลิ้มอารีย์ (2533 : 235-237)

ที่มา  http://siriwan062.blogspot.com/2010/02/blog-post_19.html

คำนาม

 



คำนาม
        คำนาม คือคำที่ใช้เรียกชื่อ คน สัตว์ สิ่งของต่าง ๆ ทั้งมีตัวตนและไม่มีตัวตนก็ได้ เช่น เวลา จิตใจ อำนาจ มี ๕ ชนิด คือ
๑. สามานยนาม คือ นามทั่วไป เช่น โต๊ะ เรือ ช้าง รถ
๒. วิสามานยนาม คือ นามเฉพาะ เช่น เรือสุพรรณหงส์ โรงเรียนเม็งรายมหาราชวิทยาคม
๓. ลักษณนาม คือ นามที่ทำหน้าที่ประกอบนามอื่น เพื่อบอก รูปร่าง ลักษณะ ขนาด ประมาณของนามนั้นให้ชัดเจนยิ่งขึ้น เช่น ปี่๑ เลา ดนตรีหนึ่งวง ปากกาด้ามนั้น ดินสอนแท่งนี้ของใคร ช้างป่าชอบอยู่รวมกันเป็นโขลง
๔. สมุหนาม คือ คำนามบอกหมาวดหมู่ของนามข้างหลัง เช่น ฝูง คณะ พรรค องค์กร หน่วย กลุ่ม เช่น กองทหาร ฝูงนกพากันออกหากิน พรรคร่วม
รัฐบาล คณะครูโรงเรียนเม็งรายมหาราชวิทยาคม กองลูกเสือจังหวัดเชียงราย
๕. อาการนาม คือ นามบอกการหรือความเป็นอยู่ จะมีคำว่า “การ” หรือ “ความ” นำหน้าคำกริยา เช่น การกิน การนั่ง ความดี ความชอบ ความฝัน
ที่มา http://tc.mengrai.ac.th/saengjan/e-book/book1.pdf